วัยชราความสูงลดลง สมัยวัยรุ่นเคยสูงกว่านี้ เมื่อร่างกายมีความแก่ชรา มีอายุที่มากขึ้น ร่างกายล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เช่น ผิวหนังที่มีความเหี่ยว เกิดริ้วรอย หูตึง สายตาที่ยาวขึ้น และอีกมากมาย แต่ที่เราสังเกตอย่างเห็นได้ชัด คือ ความสูงของคนชรามีความสูงที่ลดลง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีความสูงมากกว่านี้ เมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกช่วงเวลา

ไขข้อสงสัยกับสาเหตุว่าทำไม วัยชราความสูงลดลง
สาเหตุที่ทำให้คนชรามีความสูงที่ลดลง
- ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับคนชราหรือผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายเกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (muscle mass) โดยมีงานวิจัยระบุว่าในร่างกายของผู้สูงอายุในทุก ๆ สิบปีจะมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อประมาณ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นสาเหตุให้คนชรา หรือผู้สูงอายุส่วนมากจะมีหลังงอ และทำให้ตัวของผู้สูงอายุดูสั้นลง เพราะส่วนกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่คอยควบคุมแกนกลางของลำตัวมีการสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อ จึงเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการที่ผู้สูงอายุ หรือคนชรา มีความสูงที่ลด หรือเตี้ยลงนั้นเอง

กระดูก คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุ หรือคนชรามีความสูงที่ลดลง เพราะ ความกระดูกเป็นโครงสร้างหลักของร่างกายในการช่วยปรับรูปร่างของมนุษย์ ความเสื่อมของกระดูกจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของความสูงที่ลดลง
- โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) คือ ภาวะที่ร่างกายมีมวลกระดูกที่ลดลง และความบางของกระดูกมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้แกนกลางด้านหลังของลำตัวผู้สูงอายุมีผลกระทบมากที่สุด โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) จึงเป็นสาเหตุของการที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสูงที่ลดลง
- หมอนรองกระดูกสันหลัง (vertebral discs) มีลักษณะเป็นแผ่นเจลที่มีหน้าที่ในการรองรับแรงกระกระแทก ช่วยในเรื่องของความยืดหยุ่น หรือส่วนที่สำคัญในการค้ำจุนร่างกาย เมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงวัยที่มีความชรา น้ำที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ หมอนรองกระดูกสันหลัง (vertebral discs) ก็จะลดลงส่งผลให้ร่างกายมีความหยืดหยุดที่ลดลงและทำให้ส่วนสูงของผู้สูงอายุ หรือคนชรามีความสูงที่ลดลงนั้นเอง

การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing exercise) ที่มีการออกกำลังกายอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย นั้นเป็นสิ่งที่ดีและก็มีผลที่ตามมา คือ เมื่อเราออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักบ่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและออกกำลังกายมาเรื่อย ๆ จะทำให้กระดูกของเรามีการสร้างกระดูกที่เต็มที่ (การสร้างมวลกระดูก) ทำให้เกิดผลดีต่อกระดูกของเราในระยะยาวเมื่อย่างก้าวเข้าสู้ความชรา หรือการมีอายุที่มากขึ้น