ผู้ป่วยติดเตียงกับความเสี่ยงโรคโควิด 19 นั้นส่งผลกระทบในทุกด้านทุกมิติของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ทุกคนบนโลกใบนี้ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญความร้ายแรงของโรคนี้ บุคคลทั่วไปยังยากในการดูแลรับมือเพื่อให้รอดจากโรควายร้ายนี้ ยังมีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้ เคล็ดลับสุขภาพ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดสูงมาก

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่อาศัยอยู่ในโซนพื้นที่สีแดง โซนระบาดหนักนั้นความเสี่ยงยิ่งเพิ่มมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ต่างจังหวัด ถึงอย่างไรก็ตามความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดยังขึ้นอยู่กับความรู้ในการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมของสมาชิกในบ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกัน จำนวนสมาชิกในบ้าน พื้นที่ส่วนตัวในการแยกตัวของสมาชิกในบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง รับมืออย่างไรหากในครอบครัวมีสมาชิกในบ้านป่วย

และยังมีปัจจัยยิบย่อยอีกมากมาย หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญอย่าวงหนึ่งนั่นคือ คุณภาพของผู้ดูแลที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอีกด้วย เรียกได้ว่า ผู้ป่วยคนไหนที่มีผู้ดูแล บุคคลที่ดูแลมีความรู้ในการดูแลป้องกันผู้ป่วยให้รอดจากโรคโควิด 19 นี้ดี มีความเคร่งครัด มีความใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างดี ถูกต้อง ผู้ป่วยติดเตียงรายนั้นก็จะมีความปลอดภัย ห่างไกลโรคโควิดในระดับหนึ่งทีเดียว
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลที่พึงปฏิบัติใน ผู้ป่วยติดเตียงกับความเสี่ยงโรคโควิด 19
1.หมั่นทำความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อน และหลังทำการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคสู่ผู้ป่วยติดเตียง
2.คัดกรองผู้เยี่ยม บุคคลภายนอกอย่างเคร่งครัด หากไม่มีความจำเป้นควรหลีกเลี่ยงการให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการสัมผัสโรคโควิด 19 แก่ผู้ป่วยติดเตียง

3.แยกบริเวณโซนที่พักของผู้ป่วยติดเตียงกับสมาชิกคนอื่นในบ้านให้ห่างกัน เพื่อเป้นการลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อจากคนในบ้านที่ออกไปมีกิจกรรม หรือออกไปทำงานนอกบ้าน (สำหรับในครอบครัวที่มีพื้นที่บ้านกว้างขวางที่สามารถแยกโซนได้) สำหรับในครอบครัวที่มีพื้นที่น้อย การแยกสถานที่อยู่อาศัยในช่วงที่มีการระบาดมากจะเป็นสิ่งที่ลดความเสี่ยงในระดับหนึ่งทีเดียว
- “อาหารเจเพื่อสุขภาพ” ที่จะมีให้เห็นกันอยู่ในทุกช่วงเทศกาลกินเจของทุกปี
- “MRI” วิธีตรวจสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องที่สามารถเข้าใจง่ายใน 5 นาที
- ความดันโลหิตสูง ติดโควิดมีโอกาสเสี่ยงจะเป็คโรคนี้หรือไม่ ไปดูกันเลย
- คอเลสเตอรอล ข่าวแฮมเบอร์เกอร์เพิ่มปริมาณ เสี่ยงโรคหัวใจจริงหรือไม่
- ความเครียด เป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกาย อย่าให้เครียดสะสม