อาการ หายใจไม่ออก ถ้าคุณเคยมีประสบการณ์ต้องตื่นนอนก่อนเวลาเพราะหายใจไม่ออก เนื่องจากมีเสมหะเต็มทางเดินหายใจ แล้วเหมือนว่าไม่สามารถขับมันออกได้หมดเสียที เคล็ดลับสุขภาพ ก็จะรู้ดีกว่ามันสร้างความไม่สบายตัวให้อย่างมาก รบกวนการนอนที่เต็มอิ่ม และยังอาจทำให้เกิดความอ่อนเพลียต่อเนื่องไปถึงช่วงกลางวันอีกสำหรับบางคน กรณีที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นร่วมด้วย อาการนี้ก็แก้ไขได้ไม่ยาก แค่ต้องเข้าใจร่างกายให้มากขึ้นอีกสักหน่อย

สาเหตุของ อาการ หายใจไม่ออก อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้
เสมหะที่ทำให้หายใจไม่ออกเป็นเพราะขาดน้ำ
ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจธรรมชาติของร่างกายในจุดนี้ก่อน อาการหายใจไม่ออกเนื่องจากเสมหะหรือเมือกข้นในทางเดินหายใจ เป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงในร่างกายเมื่อขาดน้ำ เวลาที่เรากำลังหลับอยู่ หากสภาพอากาศแห้งจนเกินไปร่างกายจะต้องการน้ำเพิ่ม ลดความเสี่ยงของ โรคไอเรื้อรัง แต่พอหลับอยู่จึงไม่อาจดื่มน้ำได้ ร่างกายจึงต้องสร้างเมือกขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคบางอย่างที่หลุดรอดเข้ามาตอนที่ร่างกายแห้งเกินไปนั่นเอง ส่วนจะเป็นรุนแรงแค่ไหนก็แล้วแต่พื้นฐานร่างกายของแต่ละคน

เตรียมตัวก่อนเข้านอนป้องกันการหายใจไม่ออก
ร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบมากที่สุด แม้แต่ยามหลับร่างกายก็ต้องใช้น้ำอยู่ดี หากขาดน้ำเมื่อไรก็ย่อมจะไอเพราะคอแห้ง และต่อเนื่องไปถึงหายใจไม่ออกเพราะเสมหะได้ จึงควรจิบน้ำตลอดในช่วงก่อนนอน แต่ให้จิบทีละนิดแทนการดื่มรวดเดียว ไม่อย่างนั้นจะอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ถึงหายใจสะดวกแต่ก็ต้องตื่นมากลางดึกหลายรอบ จากจะได้ประโยชน์ก็ต้องไปแก้ปัญหาอย่างอื่นต่ออีก

แก้การหายใจไม่โดยเพิ่มความชื้นให้พื้นที่อาศัย
ยิ่งถ้าเปิดแอร์นอนหรือเปิดพัดลมจ่อตัวตลอด ความเสี่ยงที่จะหายใจไม่ออกยิ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว แนะนำให้เพิ่มความชื้นรอบตัวสักหน่อย อาจใช้เป็นแก้วน้ำที่เทน้ำจนเกือบเต็มแล้ววางไว้หัวเตียง หรือจะใช้เครื่องพ่นละอองน้ำสำหรับเพิ่มความชื้นโดยตรงก็ได้ แต่ต้องระวังไม่พ่นใกล้จุดที่นอนมากเกินไป กรณีที่อยู่บ้านต่างจังหวัดยิ่งดีเข้าไปใหญ่ ควรงดเปิดแอร์และเปลี่ยนมาเปิดหน้าต่างบ้าง
- ไข้หวัด โรคเล็กๆ ที่ก่อความรำคาญและอาจนำพาคุณสู่อาการเรื้อรัง
- “อาหารเจเพื่อสุขภาพ” ที่จะมีให้เห็นกันอยู่ในทุกช่วงเทศกาลกินเจของทุกปี
- “MRI” วิธีตรวจสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องที่สามารถเข้าใจง่ายใน 5 นาที
- ความดันโลหิตสูง ติดโควิดมีโอกาสเสี่ยงจะเป็คโรคนี้หรือไม่ ไปดูกันเลย
- คอเลสเตอรอล ข่าวแฮมเบอร์เกอร์เพิ่มปริมาณ เสี่ยงโรคหัวใจจริงหรือไม่