การใช้กัญชา จากการวิจัยครั้งใหม่ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเกี่ยวกับกัญชา ผลที่ได้อาจจะตรงกันข้ามกับข้อเรียกร้องบางประการของประชากรในสหรัฐอเมริกาที่ต้องการใช้กัญชามาแทนยาระงับปวดโอปิออยด์ โดยการวิจัยครั้งใหม่นี้ได้ทำการศึกษาตรวจสอบทิศทางและความแน่นอนของความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กัญชาและการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์ในช่วง 90 วันติดต่อกัน สำหรับผู้ใหญ่ที่ใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์แต่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์เป็นที่แพร่หลายกันมาก ทั้งในวันที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้กัญชา และผู้เข้าร่วมอาจจะมีหรือไม่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น ก็มีการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์กัน การศึกษาในครั้งนี้เห็นว่า การใช้กัญชา แทบอาจจะไม่ได้ทดแทนยาที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบความน่าจะเป็นของการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์ที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ ในวันที่ใช้กัญชาและไม่ได้กัญชา โดยใช้เวลาสังเกตทั้งหมด 13,271 วัน และมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 211 คน ในพื้นที่ของเมืองนิวยอร์ก ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมทดสอบเป็นผู้ชาย โสด ว่างงาน และมีการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์ในทางที่ผิด ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เห็นว่ากัญชาแทบจะไม่สามารถใช้ทดแทนยาระงับปวดโอปิออยด์กรณีที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ หรือกับกลุ่มที่ใช้ยาระงับปวดในระดับปานกลางหรือรุนแรงก็ตาม หรือจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายก็คือ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นชัดเจนว่ากัญชาไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพในการจำกัดการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์ที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2017 มีประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 2 ล้านคนที่มีความผิดปกติในการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์ และในจำนวนนี้ก็มีการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์มากกว่า 70,000 คน ทั้งนี้สาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ก็เกิดจากการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์อย่างผิดกฎหมายหรือการใช้ตามใบสั่งแพทย์ โดยการวิจัยในครั้งนี้ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเกี่ยวกับการใช้กัญชาแทนยาระงับปวดโอปิออยด์ที่ไม่ได้ใช้ทางการแพทย์นั้นจะลดลงได้ และป้องกันการเสียชีวิตจากการใช้ยาระงับปวดโอปิออยด์เกินขนาดได้ แต่ผลการวิจัยอาจจะยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฝากกดติดตามเคล็ดลับสุขภาพบทความสุขภาพที่น่าสนใจการดื้อยา เกิดเพราะพฤติกรรมของมนุษย์เองหรือธรรมชาติก็เป็นตัวการที่ทำให้เชื้อดื้อยาได้