ปัญหาหลังแอ่น ภาวะหลังแอ่น (Lumbar Hyperlordosis) เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนของหลังส่วนบนมีการค่อมลง และกระดูกสันหลังส่วนล่างแอ่นเข้าไปด้านหน้าลำตัว ทำให้ส่วนของกระดูกสันหลังส่วนล่างหรือส่วน Lumbar มีส่วนโค้งเพิ่มขึ้น จะเห็นชัดในกรณีที่บุคคลที่มีภาวะนี้มักจะเป็นคนที่มีสะโพกใหญ่สะโพกงอนเดินบนรองเท้าส้นสูงเป็นประจำคนที่ต้องนั่งขับรถนานๆ หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน BMI เท่ากับ 23 ขึ้นไปมีโอกาสที่จะเสี่ยงภาวะหลังแอ่นเช่นกันแต่บางครั้งผู้ที่มีปัญหาหลังแอ่นจะมีปัญหาเรื่องการออกกำลังกายแล้วเจ็บช่วง Lower Back Pain อยู่บ่อยครั้ง ถ้าเลือกโปรแกรมการออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับสรีรวิทยาที่ควรเป็นจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำจุดเดิมอีก ปัญหาหลังแอ่น ควรออกกำลังกายแบบไหนดีถึงจะเหมาะสม เมื่อหลังแอ่นมากเกินไป กระดูกสันหลังส่วนของเชิงกราน (Pelvic Bone) จะมีลักษณะหมุนเคลื่อนไปข้างหน้ามากกว่าปกติที่เรียกกันว่า Anterior Pelvic Tilt (เชิงกรานคว่ำลง) นั่นก็แปลว่ากล้ามเนื้อในมัดแถวนั้นก็มีทั้งตึงทั้งหย่อนเช่นเดียวกันกล้ามเนื้อในส่วน Erector Spinae กับ Iliopsoas จะตึงปวดส่วนกล้ามเนื้อที่หย่อน เช่น Gluteus Maximus, Hamstring และ Abdominal Muscle จะต้องออกกำลังกายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก่อนจะเริ่มออกกำลังกายสำหรับคนที่มีปัญหาหลังแอ่นจะต้องค่อยๆ ปรับท่าทาง (Posture) ที่ไม่เหมาะสมก่อนแล้วเริ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อพวก Core Stabilize Exercise เพิ่มความมั่นคงให้กับกล้ามเนื้อ ดังนี้ Abdominal Muscle : การออกกำลังกายในคนที่หลังแอ่น จะต้องเพิ่ม Stability หรือความมั่นคงให้กับกล้ามเนื้อท้องตัวอย่างท่าที่ควรฝึก เช่น Plank ควรทำเท่าที่ไหวสัก 20 วินาที – 2 นาที เพื่อป้องกันหลังแอ่นเนื่องจากทำค้างแบบ Isometric […]