โรคอัลไซเมอร์
การดูแลสุขภาพ

โรคอัลไซเมอร์ หรือที่เรียกว่าภาวะสมองเสื่อม ดูแลอย่างเข้าใจย่อมสร้างกำลังใจให้ผุู้ป่วย

โรคอัลไซเมอร์ ด้วยประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุในไม่ช้า ซึ่งจะถือได้ว่าจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลครอบคลุมทั่วทุกด้าน สำหรับผู้สูงอายุต่างๆเหล่านี้ย่อมจะมีความเสื่อมถอย ตามธรรมชาติโรคที่เกิดขึ้นได้จากการเสื่อมถอย ของการทำงานและโครงสร้างเนื้อเยื่อต่างๆของสมอง ซึ่งจะพบมากในผู้ป่วยสูงอายุอย่างโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรค ที่มักพบในผู้ป่วยผู้สูงอายุซะส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ว่าผู้สูงอายุทุกคนจะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ กันทุกคนซึ่งโรคอัลไซเมอร์นี้เกิดจากความเสื่อมจากโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าเบต้าอะไมลอยด์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำเมื่อไปจับกับเซลล์สมอง จะส่งผลให้เกิดสมองเสื่อมและทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหาย จัดการลดลงของสาร acetylcholine นั้นเอง โรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่อหน่ายและท้อใจ ต้องดูแลใสใจมากเป็นพิเศษ โรคอัลไซเมอร์หรือที่เรียกกันว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะมีความแตกต่างกันไป ด้วยความเข้าใจของญาติถ้ารู้ถึงข้อวินิจฉัยของแพทย์ จะทำให้เกิดความเข้าใจผู้ป่วยต่างๆเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่มีผลจากการเสื่อมของสมอ งโดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่สมองเสื่อมที่รักษาหายขาดได้เลย มักจะเกิดจากโรคทางกายไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบตัน เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองและการขาดวิตามินบี 12 และภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยสูงอายุถึงร้อยละ 80 เลยทีเดียว ถือได้ว่าโรคสมองเสื่อมนี้จะเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ จึงจะทำให้สูญเสียความทรงจำในระยะสั้น ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปต่างยากลำบาก โดยเฉพาะบางรายอาจจะมีอาการก้าวร้าวซึ่งในปัจจุบัน อาจจะพบผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากขึ้น จะทำให้ผู้ดูแลหรือบุคคลใกล้ชิดอาจจะไม่เข้าใจในรูปแบบของโรคอัลไซเมอร์นี้ จึงทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและการดูแลที่ไม่ดีพอ โดยในยุคปัจจุบันการรักษาโรคอัลไซเมอร์ ถือได้ว่าไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้  โดยอาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์นั้นในระยะแรกผู้ป่วยจะมีความเสื่อมถอย ชอบถามซ้ำๆพูดซ้ำๆแต่เรื่องเดิมๆสับสนทิศทาง เริ่มเครียดอารมณ์เสียง่ายแต่ยังทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วย ระยะนี้คนรอบข้างสามารถดูแลได้จำเป็นจะต้องใส่ใจรายละเอียด และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆจนมีผู้ป่วยอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอาจจะเดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมีความก้าวร้าวเริ่มมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นช่วงเวลาที่มีอาการที่ยากต่อการดูแล และเข้าสังคมได้ไม่ดีพอ ทั้งระยะสุดท้ายผู้ป่วยมีอาการแย่ลงตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมอาจจะทำให้ผู้ป่วยติดเตียงหรือรับประทานได้น้อยลงซึ่งจะเป็นผลต่อการเคลื่อนไหวได้น้อยลงเช่นกัน สิ่งต่างๆสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากคนใกล้ตัวที่สูงอายุ […]