ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าแคลเซียมที่คุณได้รับนั้นมากเพียงพอหรือมากเกินพอ! ลองสำรวจดูว่าคุณกินโยเกิร์ต ออกกำลังกายทุกวัน และยังรับประทาน อาหารเสริมแคลเซียม เมื่อพูดมาถึงตรงนี้แล้วคุณควรรู้ว่า แคลเซียมที่มากเกินไปสามารถสร้างผลเสียต่อสุขภาพได้ ส่งผลต่อกระแสเลือดและภาวะน้ำตาลในเลือด จนอาจทำให้เกิดปัญหาได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงร้ายแรงมาก

อาหารเสริมแคลเซียม ทานนาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไร
อันตรายของระดับแคลเซียมสูง
ก่อนจะพูดถึงอันตราย ประโยชน์ของแคลเซียมคือมีความสำคัญต่อกระดูกและฟันของเด็กที่กำลังเติบโต สำหรับวัยผู้ใหญ่ยิ่งสำคัญตลอดทั้งชีวิต นอกจากการทำให้กระดูกแข็งแรงแล้ว แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงหัวใจด้วย ดังนั้นปริมาณแนะนำให้รับประทานแคลเซียมคือประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงจนถึงอายุ 50 ปี และสำหรับผู้ชายจนถึงอายุ 70 ปี
ปัญหาที่เกิดจากการได้รับแคลเซียมมากเกิน (Hypercalcemia) ได้แก่
- ท้องผูก
- นิ่วในไต
- ไตล้มเหลว
- ปัญหาการทำงานของหัวใจ
- ปัญหาความสับสน การเรียนรู้ และการทำความเข้าใจ

สาเหตุของอาการ Hypercalcemia คืออะไร
ระดับแคลเซียมที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดจากโรคต่างๆ รวมถึงปัญหาพาราไทรอยด์ และมะเร็งหลายชนิด ภาวะ Hypercalcemia อาจเป็นผลข้างเคียงของยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์บางชนิดแต่ยาแคลเซียมที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์สามารถทำให้คุณได้รับแคลเซียมมากเกินได้เช่นกัน เช่น การทานอาหารเสริม หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกินนมมากๆ หรือกินอาหารที่มีแคลเซียมมากๆ กินยาลดกรดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ รวมถึงยาเม็ดบรรจุแคลเซียมในส่วนประกอบ ยิ่งไปกว่านั้นการได้รับวิตามิน A และ D ในปริมาณสูง ก็อาจทำให้ระดับแคลเซียมสูงขึ้นด้วย

สังเกตว่าคุณเข้าข่ายอาการ Hypercalcemia หรือไม่
หลายคนไม่มีอาการชัดเจน เพราะอาจไม่ได้ทำการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่สัญญาณดังต่อไปนี้จะช่วยบ่งชี้ว่าระดับแคลเซียมของคุณอาจพุ่งสูงขึ้น
- ปวดกระดูก
- ปวดหัว
- เหนื่อยล้าและง่วงบ่อย
- ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ
- คลื่นไส้ ท้องผูก หรือเบื่ออาหาร
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรง หรือเป็นตะคริว
- มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
- หงุดหงิดง่าย
- ซึมเศร้า

วิธีหลีกเลี่ยงแคลเซียมที่มากเกินไป
- วางแผนรับประทานอาหาร
อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาซาร์ดีน และผักใบเขียว เช่น คะน้าและบรอกโคลี หลีกเลี่ยงการจัดอาหารเหล่านี้ไว้ในมื้อเดียวกัน ไม่ควรรับประทานอาหารที่ทำจากนมทั้งหมด เช่น กินพิซซ่าหน้าชีสแอนโชวี่กับมิลเชค แล้วต่อด้วยไอศกรีม เป็นต้น เพราะอาจทำให้คุณได้รับแคลเซียมมากเกินไป พยายามกระจายหมวดหมู่อาหารให้หลากหลายมากที่สุด

- ดื่มน้ำเปล่า
การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอคือหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพที่เราพูดถึงหลายต่อหลายครั้ง เพราะการขาดน้ำอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ เมื่อปริมาณของเหลวในเลือดของคุณต่ำเกินไปก็จะกระทบกับระดับแคลเซียม ดังนั้นควรเติมน้ำให้เต็มขวดแล้วจิบบ่อยๆ

- เปรียบเทียบอาหารเสริม
บางคนเลือกอาหารเสริมจากความคุ้มค่าในเรื่องมีปริมาณมิลลิกรัมสูงๆ แต่อันที่จริงแล้วร่างกายไม่ได้ต้องการมากถึงเพียงนั้น อีกทั้งสารอาหารบางอย่างยังละลายน้ำไม่ได้ นั่นหมายถึงหากเกินความต้องการ ร่างกายก็ขับออกมาเองไม่ได้ แม้ว่าสารสกัดของคุณจะมาจากธรรมชาติก็ตาม ดังนั้นเลือกมิลลิกรัมให้หย่อนหน่อยๆ หาก แนะนำแคลเซียมที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน คุณก็เลือกประมาณ 600-800 มิลลิกรัม ที่เหลือก็รับประทานจากในอาหารปกติ

- กำหนดเวลาตรวจสุขภาพ
แพทย์ส่วนใหญ่จะตรวจระดับแคลเซียมในระหว่างการตรวจเลือดตามปกติที่คุณได้รับในการตรวจประจำปีและ การดูแลสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ควรตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำจากทั้งหมดที่กล่าวมากจะเห็นว่าแคลเซียมแม้จะมีประโยชน์แต่ก็ควรเสริมด้วยความระมัดระวัง พูดคุยกับแพทย์ของคุณว่าคุณควรทาน แคลเซียม และวิตามินดี เสริมหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้นคุณต้องการปริมาณเท่าใด การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนั้นดีต่อกระดูกของคุณ แต่การทานมากเกินกว่าที่ต้องการก็ไม่ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น