“MRI”
การดูแลสุขภาพ

“MRI” วิธีตรวจสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องที่สามารถเข้าใจง่ายใน 5 นาที

ถ้าหากจะพูดวิธีการตรวจสุขภาพที่ที่มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคสูง สามารถวินิจฉัยโรคได้โดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ และกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ก็ต้องเป็นเครื่องตรวจสุขภาพด้วย “MRI” อย่างแน่นอน เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เครื่องตรวจร่างกายประเภทนี้ก็ได้ทำสถิติในความแม่นยำของการตรวจหารอยโรคในวงการแพทย์ได้อย่างชัดเจนเป็นอันดับ 1  ที่นำหน้าการเอกซเรย์และอุลตร้าซาวด์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่อาจมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการตรวจสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องตรวจสุขภาพเหล่านี้ ซึ่งวันนี้เราก็จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีการตรวจสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องตรวจแบบสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือที่หลายคนเรียกว่า “การเข้าอุโมงค์” โดยจะมีวิธีการตรวจร่างกายอย่างไร และใช้เวลานานแค่ไหนไปติดตามรับชมกันเลยค่ะ 

“MRI”

พบกับวิธีการตรวจร่างกายด้วยเครื่อง “MRI” ที่หลายคนอาจสงสัย

สำหรับวิธีการตรวจสุขภาพด้วยเครื่อง “MRI” มีวิธีการตรวจร่างกายตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ที่ เคล็ดลับสุขภาพ

  •  การทำการตรวจด้วยเครื่อง 

โดยเครื่องจะมีลักษณะคล้ายกับอุโมงค์แคบ ซึ่งผู้ป่วยจะนอนในลักษณะนอนหงายลำตัวตรง หลังจากนั้นจะทำการใส่อุปกรณ์ตัวรับสัญญาณภาพเพื่อที่จะนำไปตรวจเฉพาะอวัยวะที่ต้องการทำการวินิจฉัย ยกตัวอย่างเช่น การตรวจกระดูกสันหลัง แพทย์จะนำอุปกรณ์รับภาพไปวางไว้บริเวณแผ่นหลังของ ผู้ป่วย เพื่อที่จะทำการถ่ายภาพไปวินิจฉัยรอยโรค

  • ระยะเวลาในการตรวจ

จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 ถึง 60 นาที  ในการนอนในเครื่องตรวจ ซึ่งระยะเวลานั้นแตกต่างกันไปที่ความยากง่ายของแต่ละระบบ ซึ่งจะมีการตรวจแบ่งเป็นเซ็ต ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการตรวจเซ็ตละ 3-5 นาที ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและมีความแม่นยำต่อการวินิจฉัยโรคของแพทย์ 

วิธีตรวจสุขภาพร่าง “MRI”

            อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจสุขภาพด้วยเครื่องตรวจสุขภาพ“MRI”มีระยะเวลาของการตรวจที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการตรวจอยู่ที่ 40-50 นาที ซึ่งระยะเวลานี้อาจจะมีปัญหากับผู้ป่วยที่กลัวที่แคบได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการกลัวที่แคบก็ควรจะแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการตรวจทุกครั้ง  เพราะหากคุณไม่แจ้งให้แพทย์ทราบการตรวจร่างกายหรืออวัยวะแต่ละจุดอาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะการตรวจด้วยเครื่องชนิดนี้จะต้องนอนอยู่ในท่าราบตรงแบบไม่ขยับ aesexyc เพราะอาจจะทำให้เครื่องจับภาพอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่สำคัญเกิดความคลาดเคลื่อน และมีผลต่อการวินิจฉัยโรคได้

Latest Posts